BIM คืออะไร…ใช้ BIM แล้วดียังไง

BIM คือ Building Information Modeling เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับวงการงานสถาปัตยกรรม และการก่อสร้าง ที่เริ่มตั้งแต่การออกแบบอาคารไปจนถึงการก่อสร้าง BIM จะเป็นการใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาควบคุมกระบวนการต่างๆ ระบบจะสร้างแบบจำลองเสมือนของอาคารที่แม่นยำ แบบจำลองแบบดิจิทัล อย่างการออกแบบ การเขียนแบบ การคำนวณโครงสร้าง การประมาณราคา การจัดซื้อ รวมไปถึงการวางแผนงานต่างๆ ของอาคาร

“ด้วยเทคโนโลยี BIM (Building Information Modeling) ระบบจะสร้างแบบจำลองเสมือนของอาคารที่แม่นยำอย่างน้อยหนึ่งแบบจำลองแบบดิจิทัล แบบจำลองเหล่านี้รองรับการออกแบบในแต่ละขั้น ซึ่งช่วยทำให้วิเคราะห์และควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่ากระบวนการที่ทำด้วยตนเอง เมื่อเสร็จสมบูรณ์ แบบจำลองที่สร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะประกอบด้วยรูปทรงเรขาคณิตที่แม่นยำและข้อมูลที่จำเป็นในการรองรับกิจกรรมการก่อสร้าง การแปรรูป และการจัดซื้อจัดหาเพื่อให้การก่อสร้างบรรลุผล”

BIM คือ กระบวนการการทำงาน (Process) ไม่ใช่ชื่อของ Software ซึ่งมีหลายบริษัททางด้าน Software ที่เป็นการทำงานระบบ BIM

เป้าหมายของการใช้งานระบบ BIM เพื่อให้สามารถทำงานเป็นขั้นตอนต่างๆ ได้ โดยเริ่มจากการออกแบบการก่อสร้างอาคารทางด้านสถาปัตยกรรม เพื่อลดความผิดพลาดและการทำงานที่ซับซ้อนกัน อันเกิดจากการทำงานที่ไม่ต่อเนื่องและขาดการตรวจสอบ BIM จึงเป็นเทคโนโลยีอีกหนึ่งขั้นที่เพิ่มศักยภาพการทำงานให้ดีมากยิ่งขึ้น และเป็นการทำงานที่สามารถจบครบวงจร (Live Cycle)

ทำไมต้อง BIM

บริษัทที่ใช้ BIM เช่น Skanska และ Barton Malow ได้รายงานถึงประโยชน์สำหรับการวางกำหนดการ การประเมิน และการวิเคราะห์ความเสี่ยง กระบวนการทำงานร่วมกันที่มากขึ้น และการจัดการอาคารที่ดียิ่งขึ้น BIM ยังให้โอกาสในการทดลองใช้โซลูชั่นล่วงหน้าก่อนที่จะสร้างโครงสร้างที่ไซต์งาน: คุณสามารถสร้างต้นแบบโครงสร้างเสมือนด้วยแบบจำลองที่ก่อสร้างได้จริง ฝ่ายต่างๆ ในโครงการสามารถทำความเข้าใจและตรวจทานการออกแบบได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น ซึ่งช่วยรับประกันความแม่นยำและความสมบูรณ์ของการออกแบบได้ รวมถึงแสดงให้เห็นเป็นภาพและประเมินทางเลือกต่างๆ ในด้านค่าใช้จ่ายและตัวแปรอื่นๆ ในโครงการ BIM ได้สั่งสมประสบการณ์เพื่อพัฒนาการสื่อสารระหว่างฝ่ายต่างๆ ในโครงการและคุณภาพโดยทั่วไปให้ยอดเยี่ยมยิ่งขึ้น

ประโยชน์และจุดเด่นของเทคโนโลยี BIM

ปัจจุบันเทคโนโลยี BIM เข้ามามีบทบาทสำคัญในกระบวนการออกแบบก่อสร้างมากกว่า 60 ประเทศทั่วโลก แทนที่การทำงานแบบเดิมที่เป็น 2 มิติ เข้าสู่การทำงานที่มากกว่า 3 มิติ ซึ่งมีจุดเด่น และข้อดีที่เป็นประโยชน์ต่อสถาปนิก, บริษัทออกแบบ, เจ้าของโครงการ, วิศวกร หรือผู้รับเหมามากมาย ได้แก่

  • เป็นเทคโนโลยีเพื่อใช้สำหรับการออกแบบสถาปัตยกรรมที่พัฒนาขึ้นสำหรับสถาปนิก และนักออกแบบ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมมากกว่าการใช้ซอฟต์แวร์ในลักษณะเดิมที่เน้นการเขียนแบบ และนำเสนอเพียงอย่างเดียว ทำให้ทั้งผู้ออกแบบ ผู้ร่วมงานตลอดจนลูกค้าสามารถสื่อสารได้เข้าใจกันง่ายขึ้นเพราะเห็นเป็น 3 มิติ แบบชัดเจน
  • เน้นลักษณะการสร้างชิ้นงานในแบบ 3 มิติ เป็นหลัก มีกลไกในการควบคุมขนาดและสัดส่วนต่างๆ ของวัตถุด้วยระบบพารามิเตอร์ โดยควบคุมการทำงานผ่านมุมมองต่างๆ ทั้งมุมมองที่เป็น 2 มิติ และ 3 มิติ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของวัตถุ ก็จะส่งผลถึงมุมมองอื่นๆ ทั้งหมด
  • สามารถนำส่งข้อมูลที่ตรงกัน เพื่อลดการขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน ลดข้อขัดแย้งของปัญหาแบบก่อสร้างไม่เป็นปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดพลาดในงานก่อสร้างได้ จึงช่วยให้สามารถลดระยะเวลาในการทำงาน และลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการก่อสร้างผิดแบบได้
  • สามารถใช้เทคโนโลยี BIM เข้าร่วมกับกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานด้านการออกแบบ โดยจะเห็นได้ชัดเจนจากการประมวลผลข้อมูลต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น การถอดแบบวัตถุ 3 มิติ ที่สร้างขึ้นเพื่อการประมาณราคา (Cost Estimate) ลำดับขั้นตอนต่างๆ ในงานก่อสร้าง (Phasing) เพื่อช่วยลดขั้นตอน และระยะเวลาในการทำงานให้สั้นลง
  • ลดการใช้ทรัพยากรบุคคล และค่าใช้จ่ายในการทำงานให้น้อยลง โดยนำความสามารถของคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการประมวลผลข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นให้มากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ภาพรวมของการทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • ความสามารถในด้านการทำแบบก่อสร้าง รวมถึงแบบขยาย และรายละเอียดของส่วนต่างๆ ของอาคาร ความสามารถในการทำแบบก่อสร้างตามขั้นตอนของงานก่อสร้าง และความสามารถในการทำแบบก่อสร้างในรูปแบบของงานปรับปรุงอาคาร ลดเวลาในส่วนของการเขียนแบบไปได้อย่างน้อย 30% ทำให้โครงการก่อสร้างเสร็จเร็วกว่าเดิม
  • ทำงานได้มากขึ้น เร็วขึ้นด้วยทีมงานเท่าเดิมสร้างผลประกอบการที่ดี
  • ส่งเสริมการทำงานในรูปแบบของทีมขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นไปในลักษณะการทำงานในแบบร่วมมือกัน และประสานความร่วมมือกันในการควบคุมงานสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นร่วมกันผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารโครงการสามารถทำการกำหนดสมาชิกในทีม เพื่อเลือกกำหนดสิทธิและสัดส่วนความรับผิดชอบในส่วนต่างๆ ของอาคาร ชิ้นงานให้แก่ลูกทีมแต่ละคนได้ รวมถึงความสามารถในการรองรับโครงการออกแบบที่มีขนาดใหญ่ ที่มักมีหลายๆ อาคารก็สามารถทำการเชื่อมโยงไฟล์งานของชิ้นงานต่างๆ เข้าด้วยกันได้
  • การนำระบบ BIM มาใช้ในการจัดทำแบบรูปการก่อสร้าง (As-built Drawing) เป็นแบบที่แสดงรายละเอียดของงานที่ได้ทำการก่อสร้างจริง ภายหลังการส่งมอบงานให้กับเจ้าของโครงการจะได้รับโมเดล 3มิติ ที่เต็มไปด้วยข้อมูลและการจัดการ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งต่อไปยังผู้จัดการผู้ดูแลสิ่งก่อสร้างนั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบ Facility Management (FM) ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นคู่มือในการบำรุงรักษาอาคาร หรือต่อเติมอาคาร (Renovate) ในอนาคต ตลอดจนใช้ในการบริหารจัดการ (Management) สิ่งก่อสร้างตลอดอายุการใช้งานของสิ่งก่อสร้าง
 

文章图片

评论


给此文章投票

创建者


NP

状态 : ผู้ใช้ทั่วไป
การก่อสร้าง